ระบบนำทางในรถยนต์ (Car navigation system / Automobile navigation system) เป็นส่วนหนึ่งในการใช้ดาวเทียมช่วยในการส่งค่าเพื่อคำนวณตำแหน่งพิกัด ของรถยนต์ โดยใช้ตัวรับสัญญาณGPSบอกตำแหน่งที่อยู่บนพิกัดโลก เพื่อใช้ในการคำนวณระยะทางจากตำแหน่งที่อยู่ ไปยังจุดหมายปลายทาง ประกอบกับการจับคู่ตำแหน่งต่างๆที่ได้จากGPSลงไปยังแผนที่ ทั้งนี้อาจอาศัยเซ็นเซอร์อื่นๆช่วยในการคำนวณระยะทางที่เดินทางแน่นอนขึ้นแผนที่ที่ใช้ในระบบนำทางในรถยนต์ที่ใช้กันโดยทั่วไปที่เป็นมาตรฐานอย่างไม่เป็นทางการ (de facto standard) มาจากสองบริษัทได้แก่แผนที่จากบริษัท แนฟเทค

Read More

ทฤษฎีระบบควบคุม (control theory) เป็นสาขาหนึ่งของคณิตศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ ในที่นี้ การควบคุมหมายถึง การควบคุมระบบพลศาสตร์ ให้มีค่าเอาต์พุตที่ต้องการ โดยการป้อนค่าอินพุตที่เหมาะสมให้กับระบบ ตัวอย่างที่เห็นได้ทั่วไป เช่น ระบบควบคุมอุณหภูมิห้องของเครื่องปรับอากาศ หรือ แม้แต่ลูกลอยในโถส้วม ที่เปิดน้ำปิดน้ำโดยอัตโนมัติเมื่อน้ำหมดและน้ำเต็ม การควบคุมการขับเคลื่อนยานพาหนะ เช่น รถยนต์ ก็ถือเป็นการควบคุมชนิดหนึ่ง โดยผู้ขับขี่เป็นผู้ควบคุมทิศทางและความเร็ว

Read More

รถจักรไอน้ำ (Steam locomotive) เป็น รถไฟในยุคแรกที่ใช้กลไกของแรงดันไอ (น้ำ) ในการผลักดันให้ล้อรถหมุนและทำให้รถเคลื่อนที่ ซึ่งในปัจจุบันรถจักรประเภทนี้แทบไม่มีใช้ให้เห็นกันแล้ว หลังจากปี ค.ศ. 1768 เจมส์ วัตต์ (James Watt) นักประดิษฐ์ชาวอังกฤษสามารถสร้างเครื่องจักรไอน้ำได้สำเร็จได้มีนักประดิษฐ์จำนวนมากนำเครื่องจักรไอน้ำมาใช้เป็นส่วนประกอบของเครื่องจักรชนิดต่างๆมากมาย แต่ก็ไม่ค่อยได้รับความนิยมกัน ซึ่งหนึ่งในนั้นคือริชาร์ด เทรวิทิก (Richard

Read More

ยานพาหนะพลังไฮโดรเจน ( Hydrogen vehicle) เป็นยานพาหนะที่ใช้พลังงานจากธาตุไฮโดรเจนเป็นเชื้อเพลิง คำนี้อาจหมายถึง ยานพาหนะส่วนตัว อย่างเช่น รถยนต์ หรือยานพาหนะประเภทอื่นที่ใช้ไฮโดรเจนเป็นเชื้อเพลิงในทำนองเดียวกัน อย่างเช่น เครื่องบิน แหล่งพลังงานของยานพาหนะดังกล่าวจะเปลี่ยนพลังงานเคมีของธาตุไฮโดรเจนเป็นพลังงานกลได้โดยผ่านกระบวนการเผาไหม้ หรือผ่านกระบวนการแปลงปฏิกิริยาไฟฟ้าเคมีของเซลล์กำเนิดไฟฟ้า ไฮโดรเจนเป็นหนึ่งในสองธาตุที่ประกอบกันขึ้นเป็นน้ำ ไฮโดรเจนไม่ใช่แหล่งพลังงานด้วยตัวของมันเอง แต่เป็นตัวนำพลังงาน เนื่องจากมันต้องการพลังงานจำนวนมากในการแตกตัวออกมาจากน้ำ ธาตุไฮโดรเจนเป็นแหล่งพลังงานในเซลล์กำเนิดไฟฟ้าและแบตเตอรี บริษัทจำนวนมากกำลังพัฒนาเทคโนโลยีที่จะสามารถใช้ประโยชน์จากพลังงานไฮโดรเจนอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นพลังงานกล

Read More

มัลติทัช เป็นการต่อยอดมากจากหน้าจอสัมผัสทั่วไป ซึ่งโดยปรกติถ้าเป็นทัชสกรีนธรรมดาจะเป็นการรับคำสั่งได้ทีละจุดทีละคำสั่ง คล้ายๆกับเวลาเราเล่นเกมส์จับผิดภาพ หรือการใช้โทรศัพท์มือถือหรือPDAนั่นเอง แต่ว่ามัลติทัชจะต่างออกไปเพราะสามารถรองรับการสัมผัสได้ทีละหลายๆจุดทำให้เกิดรูปแบบการสั่งงานที่คล่องตัวมากขึ้นและก็มีการควบคุมที่สะดวกกว่า ให้ความรู้สึกที่แตกต่างออกไปจากการควบคุมคอมพิวเตอร์แบบเดิมๆ ก่อนหน้านี้บิลเกตได้เคยออกมาประกาศว่าเม้าส์และคีย์บอร์ดจะกลายเป็นของที่ล้าสมัยไปในที่สุด ซึ่งหนึ่งในรูปแบบการสั่งงานคอมพิวเตอร์แบบใหม่ที่จะเข้ามาแทนที่ก็คือมัลติทัช(Multi-touch) ฉะนั้นจังไม่น่าแปลกใจที่Windows7จะนำเทคโนโลยีมัลติทัชเข้ามาใช้ เพราะฉะนั้นในอนาคตเราก็มีโอกาสจะได้ใช้มัลติทัชกันอย่างเต็มรูปแบบ สำหรับเทคโนโลยีมัลติทัชก็จะประกอบไปด้วยอุปกรณ์ หลักๆอย่างแรกก็คือ หน้าสัมผัสซึ่งตัวนี้ไม่จำเป็นจะต้องเป็นหน้าจอแสดงภาพอย่างเดียว อาจจะเป็นโต๊ะ กำแพง เป็นTouch Pad บนโน้ตบุ๊คก็ได้ ส่วนนี้เป็นได้หลายรูปแบบในลักษณะการรับค่าสัมผัสจากหน้าจอหรือว่าตัวinterface

Read More

มอเตอร์ไฟฟ้า ( electric motor) เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่แปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกล การทำงานปกติของมอเตอร์ไฟฟ้าส่วนใหญ่เกิดจากการทำงานร่วมกันระหว่างสนามแม่เหล็กของแม่เหล็กในตัวมอเตอร์ และสนามแม่เหล็กที่เกิดจากกระแสในขดลวดทำให้เกิดแรงดูดและแรงผลักของสนามแม่เหล็กทั้งสอง ในการใช้งานตัวอย่างเช่น ในอุตสาหกรรมการขนส่งใช้มอเตอร์ฉุดลาก เป็นต้น นอกจากนั้นแล้ว มอเตอร์ไฟฟ้ายังสามารถทำงานได้ถึงสองแบบ ได้แก่ การสร้างพลังงานกล และ การผลิตพลังงานไฟฟ้า มอเตอร์ไฟฟ้าถูกนำไปใช้งานที่หลากหลายเช่น พัดลมอุตสาหกรรม เครื่องเป่า ปั๊ม

Read More